แมลงมีพิษ
1 แมลงก้นกระดก
สถานที่ที่พบเจอ :
ที่เปียกชื้นในฤดูฝน
ประโยชน์ของ
"ด้วงก้นกระดก" ก็คือ ช่วยควบคุมแมลงศัตรูพืชตามธรรมชาติ
และกลับมีพิษต่อคน โดย "ด้วงก้นกระดก" จะมีพิษ "เพเดอริน" (Paederin) อยู่ทั่วตัว และมีสารพิษอยู่ในตัวประมาณ
0.025 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว พิษนี้มีฤทธิ์ทำลายเซลล์เนื้อเยื่อ
ส่วนใหญ่จะพบพิษใน "ด้วงก้นกระดก" ตัวเมีย ซึ่งตามปกติ
"ด้วงก้นกระดก" จะไม่กัด หรือต่อยคน แต่พิษสามารถปล่อยออกมาได้ หาก
"ด้วงก้นกระดก" ตกใจ ถูกตี ถูกบีบ บดขยี้ เพื่อเป็นการป้องกันตัว
อันตรายของพิษ "ด้วงก้นกระดก"
คือหากถูกพิษภายใน 24 ชั่วโมงแรก จะเกิดผื่นแพ้ที่ผิวหนังอย่างเฉียบพลัน
เกิดการอักเสบ แสบร้อน พุพอง และเกิดการอักเสบขยายวงกว้างขึ้นภายใน 48 ชั่วโมง
จากนั้นแผลจะตกสะเก็ดภายใน 8 วัน จนสามารถกลายเป็นแผลเป็นได้ ในบางรายอาจมีไข้
ปวดศีรษะ ปวดเส้นประสาท ปวดกล้ามเนื้อ อาจียน คนที่แพ้พิษอย่างรุนแรง
ผิวหนังอาจอักเสบหลายแห่ง คล้ายเป็นโรคงูสวัด
หรืออาจเป็นผื่นแดงติดต่อกันนานหลายเดือน แต่หากพิษเข้าตา
ก็อาจทำให้ตาบอดได้เลยทีเดียว
สำหรับคำแนะนำในการป้องกัน "ด้วงก้นกระดก" ก็คือ ไม่ควรจับด้วงมาเล่น
หรือตบตีเมื่อด้วงบินมาเกาะตามตัว ก่อนนอนควรปัดที่นอน หมอน มุ้ง ผ้าห่ม
ข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ก่อน เพื่อป้องกัน "ด้วงก้นกระดก"
รวมทั้งในช่วงกลางคืนควรเปิดไฟเฉพาะเท่าที่จำเป็น เพราะ "ด้วงก้นกระดก"
มักชอบออกมาเล่นแสงไฟ สุดท้าย
หากถูกพิษของ "ด้วงก้นกระดก" แล้ว ให้รีบล้างด้วยน้ำเปล่า ฟอกสบู่
หรือเช็ดด้วยแอมโมเนีย และไปพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี
2.แมลงตด
สถานที่พบเจอ :
ตามต่างจังหวัดที่มีพิ้นดินเปียกชื้น
อันตราย แมลงตดจะปล่อยสารพิษประเภทควิโนน
โดยพ่นออกมาเป็นหมอกทางก้นมีเสียงคล้ายตด เมื่อถูกผิวหนังจะแสบร้อนและผิวไหม้คล้ายถูกกรดหากโดนที่สำคัญเช่น
ตา
จะทำให้ตาบอดได้โดยสารพิษควิโนนจะผลิตจากต่อมภายในท้องผสมกับสารไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์การปล่อยพิษจะเกิดจากการผสมกันของสารสองชนิดดังกล่าวและเกิดแรงดันฉีดสารพิษ
ควิโนนออกมาเป็นละออละเอียด ปกติแมลงตดจะปล่อยสารพิษเพื่อป้องกันตัวหรือเมื่อถูกรบกวน
การป้องกัน หลีกเลี่ยงไม่ไปสัมผัสกับแมลงเหล่านี้
แต่ถ้าผิวหนังถูกน้ำพิษให้รีบล้างแผลให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำ
แล้วใช้ยาปฏิชีวนะประเภทครีมทาบริเวณที่ถูกพิษกรณีที่ตุ่มแผลแตกให้รับ
ประทานยาปฏิชีวนะและปิดแผลไว้ถ้าอาการรุนแรงควรไปพบแพทย์
3 ผึ้ง
4 ต่อ
5 แตน
พิษของ ผึ้ง ต่อ แตน
ผึ้ง
ต่อ แตน เป็นแมลงที่มีเหล็กใน(stinger) โดยผึ้งตัวเมียจะดัดแปลงมาจากอวัยวะที่ใช้วางไข่ตรงปลายสุดของท้องเป็นเหล็กในยื่นยาวออกมา เมื่อต่อยแล้วเหล็กในแทงจะหลุดและปล่อยน้ำพิษออก ผึ้งจะตายหลังต่อย ผึ้งที่ต่อยศัตรูคือผึ้งงานและผึ้งนางพญา ดัง
นั้นผึ้งงานหนึ่งตัวจะต่อยได้เพียงครั้งเดียว ยกเว้นผึ้งนางพญา เมื่อต่อยศัตรูแล้วจะไม่ปล่อยหรือทิ้งเหล็กใน
จึงทำให้สามารถใช้เหล็กในต่อยได้อีกหลายครั้ง
วิธีป้องกันรักษา
ให้การดูแลเฉพาะที่
กรณีอาการไม่รุนแรง (local care)- กรณีผึ้งต่อย หากมีเหล็กในปักคาอยู่ต้องเอาออก
โดยใช้สันมีด/การ์ดหรือใช้เทปกาวแปะและดึงออก ไม่ใช้นิ้วหรือปากคีบ(forceps)เพราะอาจทำให้บีบเอาพิษออกมากขึ้น หากจำเป็นต้องใช้ปากคีบควรระมัดระวังคีบถูกถุงพิษซึ่งติดกับเหล็กใน
ทำแผลให้สะอาดประคบด้วยน้ำเย็นเพื่อลดปวดให้ยาต้านฮีสตามีนเพื่อลดอาการคันให้ยาแก้ปวด
เช่น พาราเซตามอล ถ้าบวมมากให้สเตอรอยด์ เช่น เพรดนิโซโลน 50 มิลลิกรัม /วัน
เป็นเวลา 3 วัน
ยาปฏิชีวนะส่วนใหญ่ไม่จำเป็นในแผลที่ถูกผึ้งต่อย แต่จำเป็นในแผลที่ ต่อ
แตนต่อย เฝ้าระวัง ลมพิษ แองกิโออีดีมา ปวดเกร็งท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน
หายใจขัด หลอดเลือดขยาย เป็นลม ความดันโลหิตต่ำ
สถานที่ที่พบเจอ
: พื้นที่ทั่วไปที่มี ดอกไม้ และน้ำหวาน
6 .ด้วงน้ำมัน
สถานที่พบเจอ : ตามมูลสัตว์และจะบินตามที่ที่มีแสงไฟ
พิษของด้วงน้ำมัน
พิษมีชื่อว่า...แคนทารีดิน
มีลักษณะเป็นของเหลวสีเหลืองอ่อนคล้ายน้ำมัน ใน ด้วงน้ำมัน 1 ตัวจะมีสารแคนทารีดินประมาณ 6-7 มิลลิกรัม
หากโดนผิวหนังจะทำให้เป็น แผลผื่นพุพอง ปวดแสบปวดร้อน
ยิ่งเกาก็จะยิ่งทำให้ลามไปเรื่อยๆ เพราะเมื่อเกามือก็จะเลอะสารนี้
ยิ่งไปสัมผัสบริเวณอื่นก็จะแพร่กระจายไป
ส่วนใครรับประทานเข้าไปจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้
อาเจียน ท้องเสีย อุจจาระร่วง ปัสสาวะเป็นเลือด และเสียชีวิตจากภาวะหัวใจล้มเหลว
วิธีป้องกัน
หากไปโดนเข้าก็ให้รีบล้างมือให้สะอาดโดยเร็ว
หรือเช็ดด้วยแอมโมเนียออกทันที เพื่อป้องกันการลุกลาม และควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา
โดยใช้ผงถ่านดูดซับสารพิษ จากนั้นก็รักษาระบบไหลเวียนเลือดล้มเหลวและอาการช็อก
ให้เลือดและน้ำเกลือเข้าทางเส้นเลือดดำ และป้องกันอันตรายที่เกิดกับไต
โดยทำให้มีการถ่ายปัสสาวะเพิ่มมากขึ้น
เกษตรกรที่พบเห็นด้วงน้ำมันมา รบกวนแปลงปลูกพืช และ หาก มีปริมาณมากผิดปกติ
นักวิชาการได้แนะนำให้ใช้สาร carbaryl 0.1%
(Sevin 85% WP) พ่น 1-2 ครั้ง ทุก 7-10 วัน มันก็จะเสียชีวิตไปในที่สุด และ ล่าสุดในปีนี้ก็พบว่า
มีการระบาดขึ้นมากอีก...ใครที่รู้แล้วก็ควรระมัดระวัง อยู่ให้ห่างๆมันจะดีกว่า
และโดยเฉพาะผู้ปกครองที่มีเด็กๆที่ชอบไปเดินเล่นในแปลงผัก...อย่าเผลอเด็ด ขาด11 .ด้วงน้ำมัน
สถานที่พบเจอ : ตามมูลสัตว์และจะบินตามที่ที่มีแสงไฟ
พิษของด้วงน้ำมัน
พิษมีชื่อว่า...แคนทารีดิน
มีลักษณะเป็นของเหลวสีเหลืองอ่อนคล้ายน้ำมัน ใน ด้วงน้ำมัน 1 ตัวจะมีสารแคนทารีดินประมาณ 6-7 มิลลิกรัม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น